คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย ::Thai National Committee on Irrigation and Drainage
   คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย
   Thai National Committee on Irrigation and Drainage

Home  | ความหมาย | ภารกิจ |  คณะกรรมการ | บทความวิชาการ | กิจกรรม |  ปฏิทินข่าว | ติดต่อเรา

คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย ::Thai National Committee on Irrigation and Drainage

ธรรมนูญของ THAICID

มาตรา 1 คณะกรรมการนี้เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นผู้แทนประเทศไทย ในคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ เรียกชื่อว่า "คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย" เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Thai National Committee on Irrigation and Drainage" มีชื่อย่อว่า "THAICID"

มาตรา 2 คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อไปในธรรมนูญนี้เรียกชื่อว่า " คณะกรรมการ " ส่วนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "International Commission on Irrigation and Drainage" ต่อไปในธรรมนูญนี้เรียกชื่อว่า " ICID "

มาตรา 3 สำนักงานคณะกรรมการตั้งอยู่ที่ กรมชลประทาน ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 ประเทศไทย วัตถุประสงค์

มาตรา 4 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการนี้คือ
(1.) เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ ICID ในประเทศไทย
(2.) เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับ กิจกรรมของ ICID ในประเทศไทย
(3.) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างหน่วยงานในประเทศไทยกับคณะ กรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งชาติอื่น ๆ ของ ICID และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน 1. ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการชลประทาน การระบายน้ำ การป้องกันอุทกภัย การแปรสภาพลำน้ำ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย กิจกรรม

มาตรา 5 กิจกรรมของคณะกรรมการมีดังนี้
(1.) เข้าร่วมประชุมทางวิชาการที่ ICID จัดขึ้นและประสานงานกับ ICID ในการบริหารงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
(2.) จัดการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการวางแผน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการชลประทาน การระบายน้ำ การป้องกันอุทกภัย และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อ เนื่อง
(3.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านการชลประทาน การระบายน้ำ การป้องกันอุทกภัย การแปรสภาพลำน้ำ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับจากคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งชาติต่างๆ ของ ICID และองค์การระหว่างประเทศที่มีข่ายความสนใจร่วมกันส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องในประเทศไทยทราบ เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการปฏิบัติงานการดำเนินงานของคณะกรรมการ

มาตรา 6 คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน แต่ไม่เกิน 25 คน ดังนี้
(1.) ประธานคณะกรรมการ 1 คน
(2.) รองประธานคณะกรรมการ 2 คน
(3.) เลขาธิการ 1 คน
(4.)รองเลขาธิการ 1 คน
(5.)กรรมการจากหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ 9 - 14 คน
(6.) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 1 - 6 คน

มาตรา 7 อธิบดีกรมชลประทานเป็นประธานคณะกรรมการโดยตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมการคนที่ 1 รวมทั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการให้แต่งตั้งจากข้าราชการกรมชลประทานโดยความ เห็นชอบของประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการอื่นๆ ให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ

มาตรา 8 คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี

มาตรา 9 กรรมการพ้นจากตำแหน่งโดย
- ออกตามวาระ
- เกษียณอายุราชการ ( ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ )
- ลาออก
- ตาย
- ต้นสังกัดแจ้งขอให้เปลี่ยนตัวกรรมการ

มาตรา 10 ถ้าตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการว่างลง ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างนี้ จะอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน

มาตรา 11 ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 9 ให้รองประธานคณะกรรมการคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานต่อไปจนครบวาระ

มาตรา 12 ประธานคณะกรรมการมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความ จำเป็น การประชุมคณะกรรมการ

มาตรา 13 คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีทุก ๆ ปี ภายในเดือนสิงหาคม และต้องมีกรรมการเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะ เป็นองค์ประชุม

มาตรา 14 การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในกรณีเมื่อประธานคณะกรรมการหรือ ผู้ทำการแทนเห็นสมควร หรือมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แสดงความประสงค์ต่อประธานคณะกรรมการหรือผู้ทำการแทน ขอให้มีการประชุม ก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอนั้น การออกกฎและระเบียบต่าง ๆ

มาตรา 15 คณะกรรมการมีอำนาจในการออกกฎและระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญ

มาตรา 16 การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญจะกระทำได้โดยคณะกรรมการ ซึ่งต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด มติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมธรรมนูญ ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการที่เข้าประชุม เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบและลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อนุมัติ จึงจะมีผลใช้บังคับต่อไป