คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย ::Thai National Committee on Irrigation and Drainage
   คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย
   Thai National Committee on Irrigation and Drainage

Home | ความหมาย | ธรรมนูญ | ภารกิจ | คณะกรรมการ | บทความวิชาการ | กิจกรรม | ปฏิทินข่าว | ติดต่อเรา

 

ผลการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (2010)

เมืองยอร์กจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

     การประชุมระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 6 (The 6th Asian Regional Conference หรือ ARC) ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 14-16 ตุลาคม ณ เมืองยอร์กจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หัวข้อหลักการ ประชุม the 6th ARC คือ ‘การปรับปรุงประสิทธิภาพการชลประทานและการระบายน้ำ โดยการพัฒนาการ ชลประทานแบบมีส่วนรวม ภายใต้เงื่อนไขการถือครองที่ดินรายย่อย’ ในประเทศเอเชียส่วนใหญ่ ความมั่นคงด้านอาหารมักเกี่ยวโยงไปถึงการให้บริการชลประทานแก่ผู้ถือครองที่ดิน รายย่อยซึ่งมีขนาดของที่ดินครอบครองน้อยกว่าหนึ่งเฮคแตร์ (6.25 ไร่) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีประชากร หนาแน่น ได้แก่ จีน อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน และอินโดนีเซีย ซึ่งอาหารหลักส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้ผลิตโดยผู้ ถือครองที่ดินรายย่อยเหล่านี้ ดังนั้น การมุ่งเน้นไปที่ผู้ถือครองที่ดินรายย่อยในภูมิภาคนี้จึงจำเป็นเพื่อความสำเร็จของการจัดการชลประทาน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและความมั่นคงด้านอาหาร และเพื่อการมุ่งเน้นดังกล่าว จำเป็นจะต้องทำความ เข้าใจทั้งในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ-สังคมของพวกเขา ภายใต้สภาพแวดล้อมทางด้านการจัดการ เทคนิค และ โครงสร้างองค์กรของการเกษตรชลประทาน ที่พวกเขาเกี่ยวข้องอยู่ รวมทั้งทำความเข้าใจในเรื่องแนวโน้มต่าง ๆ ที่ มีอิทธิพลต่อการเกษตรชลประทานโดยทั่วไป และที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคตของพวกเขาโดยเฉพาะ

ผลจากการประชุม ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

การผลิตอาหารในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่ ผลิตโดยผู้ถือครองที่ดินรายย่อย ซึ่งเป็นส่วนของประชากรที่ยากจนที่สุด การผลิตอาหารและความเป็นอยู่ของพวกเขาเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนพื้นที่ชลประทานเป็นชุมชน เมือง อย่างไรก็ตาม การเป็นชุมชนเมืองได้เปิดโอกาสสำหรับการทำเกษตรพืชมูลค่าสูงและการเกษตรแบบ กระจายการผลิตพืช

การที่คนรุ่นใหม่ซึ่งได้รับการศึกษามากขึ้น ค่อย ๆ ลดความสนใจต่อการทำเกษตรและการตลาดแบบรายย่อยลง ตามลำดับ และการที่ผู้ถือครองที่ดินรายย่อยมีโอกาสหารายได้อื่นเนื่องจากการเปลี่ยนเป็นชุมชนเมือง ทำให้มี โอกาสปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรไปสู่ลักษณะแปลงใหญ่ขึ้น ทั้งนี้จะต้องเปิดช่องทางให้มีการเปลี่ยนมือของที่ดิน ไปสู่คน ‘เมือง’ ในทิศทางที่สร้างสรรค์

การปรับปรุงประสิทธิภาพการชลประทานและการระบายน้ำสำหรับการถือครองที่ดินรายย่อย จะได้รับความ สนใจจากเกษตรกรในลำดับแรก ถ้าการดำเนินงานดังกล่าวช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่ของพวกเขา เห็นได้ชัดเจนว่า คนกลุ่มนี้มีข้อจำกัดด้านการเงินเพื่อจ่ายค่าบริการชลประทาน หรือเพื่อลงทุนในการปรับปรุงเทคโนโลยี ดังนั้น จึง จำเป็นจะต้องจัดหาเทคโนโลยีที่มีราคาที่พวกเขารับได้และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเงินเพื่อการลงทุน ในลักษณะที่ไม่ยุ่งยาก ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ พวกเขาเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องหารายได้อื่น นอกเหนือจากการ การเกษตรเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตน และกลายเป็นข้อจำกัดความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มการผลิตแบบ ยั่งยืนในหมู่ผู้ถือครองที่ดินรายย่อยเพื่อรับประกันสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในครอบครัวของพวกเขาเหล่านั้น

การตั้งเป้าหมายด้านความมั่นคงด้านอาหาร จะต้องทำไปพร้อมกับการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถือ ครองที่ดินรายย่อยและการปรับปรุงที่ดินที่เพิ่มขึ้นและความอุดมสมบูรณ์ด้านน้ำ วิธีทำการเกษตรแบบยืดหยุ่นได้ มากขึ้น การให้บริการชลประทาน และการปรับใช้สิ่งก่อสร้างพื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการรับมือกับความเปลี่ยน ด้านภูมิอากาศและสถานการณ์การขาดแคลนน้ำที่เพิ่มขึ้นและ การจัดการคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำ แม่น้ำ และพื้นที่ชลประทาน ให้ดีขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความมั่นคงด้านน้ำและเพื่อการผลิตอาหารแบบยั่งยืน

เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ จึงได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ กำหนดนโยบายทางการเกษตรและ สนับสนุนแผนการจ้างงานนอกภาคเกษตรแบบยั่งยืนให้มีมากขึ้นและจากรุ่นสู่รุ่น โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม การเกษตรในท้องถิ่น การจัดให้มีระบบเงินเชื่อที่รับได้ และการเข้าถึงการตลาด รัฐบาลทั้งหลายจำเป็นที่จะต้อง พัฒนาวิสัยทัศน์ และอำนวยความสะดวกแก่ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงจากระบบถือครองที่ดินรายย่อยในปัจจุบัน ไปสู่ ระบบการลงทุนทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ที่รับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันจะต้องอำนวยความสะดวกต่อ การพัฒนาสมาคมผู้ใช้น้ำ และสมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำ ไปสู่การเป็นผู้จัดการระบบนิเวศวิทยา การเกษตร และ น้ำแบบผสมผสาน เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้กลายเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

ให้ความรู้แก่สถาบันต่าง ๆ ด้วยการสะสมและสังเคราะห์ประสบการณ์ เพื่อการกำหนดและพัฒนาวิธีและ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับยกระดับสมาคมผู้ใช้น้ำและสมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำ ไปสู่การเป็นผู้จัดการระบบ นิเวศวิทยา และการเกษตร พวกเขาเหล่านี้ต่างต้องการความร่วมมือกับรัฐบาลและเรา ผู้เข้าร่วมประชุม ICID Asian Regional Conference ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ.2553 (2010) ที่เมืองยอร์กจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เพื่อปรึกษาหารือ

เรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการชลประทานและการระบายน้ำผ่านการพัฒนาการชลประทานแบบมีส่วนรวม ภายใต้เงื่อนไขการถือครองที่ดินรายย่อย

โดยพิจารณาว่า

การผลิตอาหารในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ผลิตโดยผู้ถือครองที่ดินรายย่อย ซึ่งผู้ถือครองที่ดินรายย่อยเหล่านี้เป็นส่วนของประชากรที่ยากจนที่สุด

มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ชลประทานเป็นพื้นที่เพื่อจุดประสงค์อื่นที่มิใช่การเกษตร อันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนเป็นชุมชนเมือง

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตรไปสู่คนที่มาจากเมือง

มีความมั่นใจด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น และมีโอกาสการหารายได้นอกภาคการเกษตรสำหรับผู้ถือครองที่ดินรายย่อย ซึ่งมีที่มาจากการพัฒนาเป็นชุมชนเมือง

การที่คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษามากขึ้น ค่อย ๆ ลดความสนใจต่อการทำเกษตรแบบรายย่อยลงตามลำดับ

การเปลี่ยนแปลงประชากรเมืองอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้มาตรฐานการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้จำเป็นจะต้อง เพิ่มผลผลิตด้านอาหารอย่างเห็นได้ชัด

โดยตระหนักถึง

ความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงที่ดินและน้ำเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยและเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ด้านความมั่นคงด้านอาหาร อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน

ความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการชลประทานและการระบายน้ำ โดยถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับ แรกเพื่อการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถือครองที่ดินรายย่อย

ความจำเป็นที่จะต้องมีรายได้อื่นนอกเหนือจากการเกษตร เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ถือครองที่ดินรายย่อย

ขีดจำกัดด้านการเงินของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยในการจ่ายค่าบริการชลประทาน หรือลงทุนในการปรับปรุง เทคโนโลยี

ความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีทำการเกษตรแบบยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ การขาดแคลนน้ำที่มีมากขึ้น

ความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำ แม่น้ำ และพื้นที่ชลประทานที่มีระบบการ จัดการน้ำและการป้องกันน้ำท่วม ที่ดีขึ้น

เราจึงขอเรียกร้องให้

รัฐบาลทั้งหลายจง

กำหนดนโยบายทางการเกษตรและสนับสนุนแผนการจ้างงานนอกภาคเกษตรแบบยั่งยืนให้มีมากขึ้นและจากรุ่นสู่ รุ่น โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรในท้องถิ่น การจัดให้มีระบบเงินเชื่อที่สามารถรับได้ และการเข้าถึง การตลาด

อำนวยความสะดวกแก่การพัฒนาสมาคมผู้ใช้น้ำ และสมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำ ไปสู่การเป็นผู้จัดการระบบ นิเวศวิทยา การเกษตร และน้ำแบบผสมผสาน และทำให้พวกเขาเหล่านี้กลายเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

พัฒนาวิสัยทัศน์ และอำนวยความสะดวกแก่ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงจากระบบถือครองที่ดินรายย่อยในปัจจุบัน ไปสู่ระบบการลงทุนทำการเกษตรเชิงพาณิชย์

ให้ความรู้แก่องค์กรต่าง ๆ ให้` วิเคราะห์ประสบการณ์ และพัฒนาวิธีและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อยกระดับสมาคมผู้ใช้น้ำและ สมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำ ไปสู่การเป็นผู้จัดการระบบนิเวศวิทยา การเกษตรและน้ำ ` วิเคราะห์ประสบการณ์และพัฒนาวิธีและแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อจัดการสื่อกลางในการเปลี่ยนแปลงจาก ระบบถือครองที่ดินรายย่อยไปสู่ระบบการลงทุนทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นและในเชิงพาณิชย์ ` พัฒนาและริ่เริ่มนำมาใช้ซึ่งเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นเข้ากับภูมิอากาศ มี ประสิทธิภาพด้านการใช้น้ำและในราคาที่รับได้ เพื่อสนับสนุนการผลิตของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยและปรับปรุง สภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาเหล่านั้น

หน่วยงานที่ทำหน้าจัดการด้านการชลประทานและการระบายน้ำเพื่อการเกษตรให้

ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งมีสมาคมผู้ใช้น้ำ/สมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำของผู้ที่ครองที่ดินรายย่อย เข้ามา เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในทุกประเด็นของการพัฒนาและจัดการ ในลักษณะที่สอดคล้องและร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม

ต้อนรับกิจกรรมการลงทุนซึ่งทำให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนรวมในวงจรของมูลค่าได้มากขึ้น และยอมให้ภาคเอกชนพัฒนาและทดสอบแนวทางการจัดสื่อกลางเพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการถือครองที่ดินจากการถือครองที่ดินเพื่อ การเกษตรรายย่อยเป็นการทำการแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่หรือในเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจเกษตร เพื่อการนี้ จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและริ่เริ่มเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นเข้ากับภูมิอากาศ มี ประสิทธิภาพด้านการใช้น้ำและในราคาที่รับได้ เพื่อสนับสนุนการผลิตของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยและปรับปรุง สภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาเหล่านั้น

หน่วยงานที่ทำหน้าจัดการด้านการชลประทานและการระบายน้ำเพื่อการเกษตรในฐานะผู้ให้บริการ จำเป็นที่ จะต้องนำสมาคมผู้ใช้น้ำ/สมาพันธ์ของสมาคมผู้ใช้น้ำของผู้ที่ครองที่ดินรายย่อย เข้ามาเกี่ยวข้อง ในฐานะผู้มีส่วน ร่วมในทุกประเด็นของการพัฒนาและจัดการ ในลักษณะที่สอดคล้องและร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ ที่ดิน และความเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ

สถาบันด้านการเงินและองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลาย จำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการอภิปราย และการวิจัย ตลอดจนอำนวยสะดวกให้การเจรจาระหว่างประเทศเกี่ยวกับความท้าทายของและทางเลือกในการทำเกษตร ชลประทานสำหรับที่ดินรายย่อยในสังคมซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรม

::Download Document::